บูรณาการ สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว“
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้งงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน“ เพื่อเป็นสื่อในการสร้าง จิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้น ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความ สวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ ต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็น ประโยชน์ต่อเนื่องใน การเรียนการสอนวิชาต่างๆ
ประโยชน์ของสวนพฤกษศาตร์
การใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในทรรศนะของนักพฤกษศาสตร์
การใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอนทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา นิเวศวิทยาเกษตร และวิทยาศาสตร์กายภาพ
2. การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา พุทธศาสนา สุขศึกษา ศิลปะ และอื่นๆ
3. การใช้ประโยชน์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. การใช้ประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์
การใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การใช้ประโยชน์ในการเรียน การสอนทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา นิเวศวิทยาเกษตร และวิทยาศาสตร์กายภาพ
2. การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา พุทธศาสนา สุขศึกษา ศิลปะ และอื่นๆ
3. การใช้ประโยชน์ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. การใช้ประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์
1.การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาทางวิทยาศาสตร์
- เป็นแหล่งที่รวบรวมตัวอย่างของจริง
- เป็นแหล่งที่รวบรวมตัวอย่างของจริงที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้
- การเรียนการสอนทางด้านชีววิทยา มีหลายสาขา เช่น
+ ความหลากหลายของพืช ศึกษาชนิดต่างๆ ของพืชสังเกตความแตกต่างและกลุ่มชนิดต่างๆ ของพืช
+ การจัดจำแนก ศึกษาการจัดกลุ่มพืชสัณฐานวิทยาของพืช ศึกษาลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของพืช
+ กายวิภาคของพืช ศึกษาการทำงานของส่วนต่างๆ ของพืช
+ การเกษตร การปลูก การดูแลรักษาพืช
+ โครงการวิทยาศาสตร์ การทดลอง ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ เช่น
.. การเรียนการสอนด้านนิเวศวิทยา เช่น สังคมพืช พืชบก พืชน้ำพืชอิงอาศัย
.. การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างการจับตัวของพืชน้ำแบบจมใต้น้ำ ลอยน้ำ เป็นต้น
.. การอยู่ร่วมกันระหว่างพืชกับสัตว์
.. การถ่ายละอองเรณูของพืชโดยอาศัยแมลง และอื่นๆ เป็นตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมที่ดี
- เป็นพื้นที่สีเขียวของโรงเรียนการเรียนการสอนทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาในระดับประถมและมัธยม ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานต่อขึ้นไปในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันมีผู้เรียนทางด้านพฤกษศาสตร์น้อยลงจึงเป็นการขาดกำลังทางด้านการศึกษา และ อนุรักษ์ทรัพยากรทางด้านธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอย่างมากจึงควรมีการปูพื้นฐานให้เด็กรู้จัก พืชมากๆ จะได้ทำให้เด็กๆ มาสนใจในทางด้านนี้มากขึ้น
- เป็นแหล่งที่รวบรวมตัวอย่างของจริงที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนได้
- การเรียนการสอนทางด้านชีววิทยา มีหลายสาขา เช่น
+ ความหลากหลายของพืช ศึกษาชนิดต่างๆ ของพืชสังเกตความแตกต่างและกลุ่มชนิดต่างๆ ของพืช
+ การจัดจำแนก ศึกษาการจัดกลุ่มพืชสัณฐานวิทยาของพืช ศึกษาลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของพืช
+ กายวิภาคของพืช ศึกษาการทำงานของส่วนต่างๆ ของพืช
+ การเกษตร การปลูก การดูแลรักษาพืช
+ โครงการวิทยาศาสตร์ การทดลอง ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ เช่น
.. การเรียนการสอนด้านนิเวศวิทยา เช่น สังคมพืช พืชบก พืชน้ำพืชอิงอาศัย
.. การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างการจับตัวของพืชน้ำแบบจมใต้น้ำ ลอยน้ำ เป็นต้น
.. การอยู่ร่วมกันระหว่างพืชกับสัตว์
.. การถ่ายละอองเรณูของพืชโดยอาศัยแมลง และอื่นๆ เป็นตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมที่ดี
- เป็นพื้นที่สีเขียวของโรงเรียนการเรียนการสอนทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาในระดับประถมและมัธยม ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นพื้นฐานต่อขึ้นไปในระดับมหาวิทยาลัยปัจจุบันมีผู้เรียนทางด้านพฤกษศาสตร์น้อยลงจึงเป็นการขาดกำลังทางด้านการศึกษา และ อนุรักษ์ทรัพยากรทางด้านธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอย่างมากจึงควรมีการปูพื้นฐานให้เด็กรู้จัก พืชมากๆ จะได้ทำให้เด็กๆ มาสนใจในทางด้านนี้มากขึ้น
2. การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ
2.1 วิชาภาษาไทย
2.1.1 เชื่อมโยงพันธุ์ไม้กับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ
เช่นประเพณีการในการไหว้ครู เป็นต้น
2.1.2 เชื่อมโยงกับสำนวนไทย คำพังเพย สุภาษิต เป็นต้น
2.1.3 เชื่อมโยงกับวันสำคัญ เช่นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ในวันพ่อ วันแม่ เป็นต้น
2.1.4 เชื่อมโยงกับวรรณคดีไทยทำให้จดจำได้ซาบซึ้งถึงบทกลอนวรรณคดีเหล่านั้น
ได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้น
2.1.5 ฝึกการเขียนบทความกึ่งวิชาการที่น่าสนใจโดยระบุถึงประโยชน์และความงามหรือจุดเด่นต่าง ๆ ได้
2.2 วิชาพุทธศาสนา
2.2.1 ใช้พันธุ์เปรียบเทียบสัจธรรม
2.2.2 ใช้พันธุ์ไม้บางชนิดสื่อโยงไปถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2.2.3 แสดงถึงบทบาทของพันธ์ไม้ที่มีต่อสังคมมาแต่บรรพกาล
2.3 วิชาสังคมศึกษา
2.3.1 เปรียบเทียบการอยู่ร่วมกันของพันธ์ไม้ในสังคมพืชกับสังคมมนุษย์
2.3.2 เปรียบเทียบความหลากหลายของพันธ์ไม้กับความหลากหลายในสังคมมนุษย์
2.4 วิชาสุขศึกษา
2.4.1 แสดงให้เห็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้สุขภาพกายและจิตดียิ่งขึ้น
2.4.2 พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นยารักษาโรค
2.4.3 พันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นอาหาร
2.5วิชาลูกเสือและเนตรนารี หรืออนุกาชาด
2.5.1 ใช้เป็นบริเวณฝึกสังเกต การสะกดรอย และการตั้งค่าย
2.5.2 ใช้ในการยังชีพ เช่น ต้นไม้ที่รับประทานได้ ต้นไม้ที่เป็นพิษ
2.5.3 ใช้ในการบำเพ็ญประโยชน์
2.6วิชาศิลปะ
2.6.1 การวาดภาพจากตัวอย่างพันธุ์ไม้ในสวน
2.6.2 การทำภาพพิมพ์ใบไม้
2.6.3 การประดิษฐ์ผลงานศิลปะ จากดอกไม้แห้ง ใบแห้งและผลหรือกิ่งไม้แห้งๆ
2.6.4 การวาดภาพเกี่ยวกับต้นไม้โดยจินตนาการอิสระ
2.6.5 การวาดภาพจากต้นไม้ โดยรับเรื่องประวัติ และการใช้ประโยชน์มาก่อนแล้วจินตนาการจากข้อมูลเหล่านั้น การใช้ประประโยชน์ในวิชาอื่น ผู้สอนสามารถใช้ได้ทุกวิชาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณนของผู้สอนที่ปรับให้เหมาะสม
วัตถุประสงค์ของสวนพฤกษ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
1. ปลุกจิตสำนึกให้นักเรียนมีความรัก หวงแหน และเห็นคุณค่าของพืชพรรณไม้ ตามแนวพระราชดำริฯ
2. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ของการศึกษา และเผยแพร่สู่ภายนอก
3. เพื่อใช้บูรณาการในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ได้หลากหลาย
4. เพิ่มความร่มรื่นสวยงามในบริเวณโรงเรียน ส่งผลดีต่อสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร
2. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ของการศึกษา และเผยแพร่สู่ภายนอก
3. เพื่อใช้บูรณาการในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ได้หลากหลาย
4. เพิ่มความร่มรื่นสวยงามในบริเวณโรงเรียน ส่งผลดีต่อสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร
แนวคิดของสวนพฤกษ์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษา และอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว”
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯได้สนองพระราชดำริโดยจัดทำโครงการ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อเป็นสื่อให้เยาชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่อไป
สวนพฤกษศาสตร์ คือแหล่งที่รวบรวมพืชพรรณไม้ต่างๆที่มีชีวิต จัดการปลูกตามความเหมาะสมในสภาพที่คล้ายกับถิ่นอาศัยเดิม มีห้องสมุดมีสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้งตัวอย่างดอง หรือเก็บรักษาโดยวิธีอื่น ๆ ใช้เป็นแหล่งข้อมูลและมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณไม้นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย
กิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ของโรงเรียนเกิดเป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่ให้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯได้สนองพระราชดำริโดยจัดทำโครงการ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อเป็นสื่อให้เยาชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่อไป
สวนพฤกษศาสตร์ คือแหล่งที่รวบรวมพืชพรรณไม้ต่างๆที่มีชีวิต จัดการปลูกตามความเหมาะสมในสภาพที่คล้ายกับถิ่นอาศัยเดิม มีห้องสมุดมีสถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้งตัวอย่างดอง หรือเก็บรักษาโดยวิธีอื่น ๆ ใช้เป็นแหล่งข้อมูลและมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณไม้นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย
กิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ของโรงเรียนเกิดเป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่ให้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ
ต้นไม้บริเวณต่างๆในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ตึกศิลปะ
1.จามจุรี
2.นนทรี
3.ชมพูพันธุ์ทิพย์
4.ประดู่บ้าน
5.อินทนิลน้ำ
6.พญาสัตบรรณ
7.เสลา
8.ปาล์มขวด
9.หมากนวล
10.โมก
11.มะพร้าว
12.ลั่นทมดอกขาว
13.พระศรีมหาโพธิ์
14.อโศกเซนคาเบรียล
15.ราชพฤกษ์
16.มะม่วง
17.ปาล์มพัด
18.ตะโกดัด
19.ยูคาลิปตัส
20.แก้ว
ตึก1
1.หูกวาง
2.ลั่นทมขาว
3.อโศกเซนคาเบรียล
4.แก้ว
5.สัก
6.ปาล์มหางสุนัขจิ้งจอก
7.หมากเขียว
8.เข็มขาว
9.ตะลิงปลิง
10.นนทรี
11.ประดู่บ้าน
12.ราชพฤกษ์
13.จำปี
14.กันเกรา
15.หมากนวล
16.จันทน์ผา
17.วาสนา
ตึก2
1.จามจุรี
2.นนทรี
3.ชมพูพันธุ์ทิพย์
4.พิกุล
5.พระศรีมหาโพธิ์
6.อโศกเซนคาเบรียล
7.อินทนิลน้ำ
8.มะม่วง
9.ประดู่ป่า
10.กระดังงาไทย
11.ตะแบก
12.หูกวาง
13.ประดู่แดง
14.ทองกวาว
15.กระทิง
16.ประดู่บ้าน
17.มะขาม
18.แคฝรั่ง
19.สัก
20.มะฮอกกานี
21.แสงจันทร์
ตึก3
1.จามจุรี
2.นนทรี
3.ชมพูพันธุ์ทิพย์
4.อโศกเซนคาเบรียล
5.ปีบ
6.สัก
7.สนประดิพัทธ์
8.ซองออฟจาไมก้า
9.ปรงเขา
10.ตะลิงปลิง
11.หูกวาง
12.สนฉัตร
13.ประดู่บ้าน
14.โพธิ์ขี้นก
15.พญาสัตบรรณ
16.โมก
17.ข่อย
18.ประทัดจีน
19.ปาล์มแชมเปญ
หอประชุม
1.นนทรี
2.ประดู่บ้าน
3.มะฮอกกานี
4.ตะโกนา
5.ชมพูพันธุ์ทิพย์
6.แก้ว
7.ปาล์มขวยด
8.จามจุรีสีทอง
ห้องสมุด
1.นนทรี
2.โพธิ์ขี้นก
3.เสลา
4.ลั่นทมดอกแดง
5.เข็มเศรษฐี
6.หมากคอนวล(หมากนวล)
7.ชาฮกเกี๊ยน(ชาดัด)
8.แสงจันทร์
9.สนฉัตร
10.มะขาม
11.ทองหลางหลาย(ปาริชาด)
12.ประดู่บ้าน
13.หมากเขียว
14.เฟื่องฟ้า
15.ข่อย
16.พุทธรักษา
สนามฟุตบอล
1.สนประดิทพัทธ์
2.ประดู่บ้าน
3.ชมพูพันธุ์ทิพย์
4.อโศกเซนคาเบรียล
5.กระทุ่มหูกวาง
ตึกวิทยาศาสตร์
1.สนฉัตร
2.พิกุล
3.แคฝรั่ง
4.ตะลิงปลิง
5.ยูคาลิปตัส
6.หมากเขียว
7.ซองออฟจาไมก้า
8.ยอบ้าน
9.ทองกวาว
10.อโศกเซนคาเบรียล
11.โมกบ้าน
12.ไผ่ฟิลิปปินส์
13.จันทน์ผา
14.หมากคอนวล
15.วาสนา
16.เล็บครุฑจาน
ตึก8
1.ประดู่บ้าน
2.ตะลิงปลิง
3.วาสนา
4.ชมพูพันธุ์ทิพย์
5.อินทนิล
6.ข่อย
ตึก9
1.ชมพูพันธุ์ทิพย์
2.มะขาม
3.ราชพฤกษ์
4.กระทุ่มหูกวาง
5.สาละลังกา
6.หมากนวล
7.โพธิ์ขี้นก
8.อินทนิล
9.พญาสัตบรรณ
10.โมก
11.ตะลิงปลิง
12.ชงโค
ตึกคุณหญิงหรั่ง กันตารัติ
1.จามจุรี
2.ลั่นทมดอกขาว
3.หมากแดง
4.ชวนชม
5.โมกบ้าน
6.ชมพูพันธุ์ทิพย์
7.ประดู่บ้าน
8.ยางอินเดีย
9.หมากเขียว
10.ต้นกาบหอยแครง
ตึก 55 ปี
1.หูกวาง
2.ชมพูพันธุ์ทิพย์
3.กระทิง
4.ราชพฤกษ์
5.โมกบ้าน
6.ฝรั่ง
7.ซองออฟจาไมก้า
8.หมากนวล
9.จันทน์ผา
10.ไผ่น้ำเต้า
11.ลั่มทม
12.พิกุล
13.ปีบ
14.พญาสัตบรรณ
15.ตะลิงปลิง
16.ลั่นทมดอกแดง
17.ข่อย
18.สนฉัตร
19.หมากผู้หมากเมีย
ตึก 60 ปี
1.ประดู่
2.ชมพูพันธุ์ทิพย์
3.มะฮอกกานีใบเล็ก
4.ไทรใบแหลม
5.ปีบ
6.ลั่นทมขาว
7.หางนกยูงฝรั่ง
8.มาฮอกกานี
9.พญาสัตบรรณ
10.พิกุล
11.อ้อยช้าง
12.ต้นบุนนาค
13.ทองกวาว
14.ตีนเป็ด
หลังตึก 60 ปี
1.ต้นลีลาวดี
2.ต้นว่านหางจระเข้
3.ต้นมะตูม
4.ต้นชำมะเลียง
5.ต้นโคคลาน
6.ต้นจิกนมยาน
7.ต้นสารพัดพิษ
8.ต้นม้ากระทืบโรง
9.ชะมวง
10.กะท้อ
11.หางไหลแดง
12.ไพล
13.ขมิ้นชัน
14.เปล้าใหญ่
15.พุดซ้อน
16.ข่า
17.ชุมเห็ดเทศ
18.หญ้าหนวดแมว
19.อบเชยญวน
20.กุหลาบวาเลนไทน์
21.ลิ้นงูเห่า
22.โนรา
23.ทับทิม
24.มะกรูด
25.แคบ้าน
26.ตะลิงปลิง
27.หมาก
28.ขนุน
29.มะยม
30.พลู
31.ขจร
32.หญ้าปักกิ่ง
33.ทองพันชั่ง
34.เถาเอ็นอ่อน
35.ต้นชบา
36.ต้นนมแมว
37.ต้นบัวสวรรค์
38.ต้นตาลหม่อน
39.ต้นลำดวน
40.มะเฟือง
41.มะเกลือ
42.วาสนา
43.หนามแดง
44.ขี้เหล็ก
45.หญ้าแฝก
46.ว่านมหากาฬ
47.มะกอกน้ำ
48.มะขามป้อม
49.กระท้อน
50.มะขวิด
51.จันทน์กะพ้อ
52.แพงพวย
53.มะลิลา
54.โมก
55.ชะอม
56.ฝรั่ง
57.กระชายดำ
58.ตะไคร้
59.เหงือกปลาหมอ
60.จำปี
61.รางจืด
62.มะขาม
63.ผักหวานบ้าน
64.ยอบ้าน
65.คูน
66.สิรินธรวัลลี
67.เสลดพังพอนตัวผู้
ต้นไม้ที่น่าสนใจในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
อโศกเซ็นคาเบรียล

ชื่อพื้นเมือง อโศกเซนต์คาเบรียล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyalthia longifolia (Benth.) Hook. f. var. pandurata
ชื่อวงศ์ Annonaceae
ชื่อสามัญ Asoke tree, Cemetary tree, Mast tree
แหล่งกระจายพันธุ์ ประเทศอินเดียและศรีลังกา
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปใบหอกแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก (Flower) : สีครีมหรือเขียวอ่อน ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง
ผล (Fruit) : ผลสด เป็นแบบผลกลุ่ม รูปไข่กลับ ผลแก่สีเหลืองอมเขียว มีเมล็ดเดียว
ประโยชน์ ใช้เป็นไม้ประดับ
พิกุล

ชื่อพื้นเมือง พิกุล , ไกรทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi Linn.
ชื่อวงศ์ SAPOTACEAE
ชื่อสามัญ Bullet Wood
แหล่งกระจายพันธุ์ ประเทศที่มีอากาศร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซีย พบตามป่าทางภาคใต้
ลักษณะ พิกุลทองเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกบางๆ ตามยาว ใบออกเรียงสลับกัน ใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมนสอบ ใบเป็นมันสีเขียว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรี ผลแก่มีสีแสดเนื้อในเหลืองรสหวาน
ประโยชน์ ใบ ฆ่าเชื้อกามโรค ดอก รสหอมสุขุม เมล็ด ขับปัสสาวะเปลือกต้นฆ่าแมงกินฟัน (ฟันผุ) แก้เหงือกอักเสบกระพี้ แก้เกลื้อนแก่น บำรุงโลหิต รากบำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลม
จามจุรี

ชื่อพื้นเมือง จามจุรี ก้ามปู ฉำฉา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq.) Merr.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ Rain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod
แหล่งกระจายพันธุ์ ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน ไปจนถึงบราซิล นำเข้ามาปลูกในไทยครั้งแรก โดยนายเอช สเลด เจ้ากรมป่าไม้คนแรกของไทย
ลักษณะ ไม้ผลัดใบโตเร็ว เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 20 – 30 ม. เปลือกสีดำแตกและร่อน ใบเป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40 ซม. ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 – 10คู่ ต่อหนึ่งใบ ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย ดอก เป็นช่อทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง 1.5 – 2 ซม. ยาว 12 – 20 ซม. ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด 15 – 25 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว0.5 – 0.8 ซม.
ประโยชน์ เป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง เนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือใบและฝักเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น และยังเป็นไม้ประดับยืนต้น
หูกวาง

ชื่อพื้นเมือง หูกวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa L.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ almond-Indian, almond-sea, almond-Singapore
แหล่งกระจายพันธุ์ พบตามแนวชายฝั่งทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะ ไม้ผลัดใบ สูงถึง 20 ม. กิ่งก้านเรียงในระนาบ ต้นโตเต็มที่เรือนยอดมักจะเปลี่ยนเป็นรูปไข่ ใบ 12-25×8-15 ซม. รูปไข่กลับกว้าง ฐานใบกลมหรือค่อนข้างเป็นรูปหัวใจ ผิวใบเรียบมัน ใบที่จะร่วงสีแดงสด ดอกเป็นช่อยาวไม่แตกแขนง ช่วงปลายเป็นดอกตัวผู้ ช่วงล่างเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผล 35 ซม. สีเขียวสด เรียบเป็นมัน มีสันแคบ 2 สันชัดเจน
ประโยชน์ ไม้มีคุณภาพดี แต่ปลวกมักทำลาย ต่อเรือ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ เปลือกและใบมีสารแทนนิน ซึ่งเป็นยารักษาระบบปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ผิวหนังพุพอง เมล็ดกินได้ น้ำมันรสชาติดี น้ำมันเป็นยารักษาท้องบวม โรคหิด โรคผิวหนังอื่นๆ ใบให้สีย้อมสีเหลืองปนเขียวหรือดำ
เเหล่งอ้างอิง :
https://pungkeecheung.wordpress.com
http://botanicalgardentu.blogspot.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น